ได้ติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้ซิกาให้ชุมชนไทยในพื้นที่นั้น ๆทั้งนี้ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ ควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเดินทาง ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ได้จากสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ ๑๔๒๒


1. ลักษณะของโรค
โรคไข้ซิกา เกิดขึ้นโดยมียุงลายเป็นพาหะน าโรค พบครั้งแรกที่ประเทศอูกานด้า เมื่อปี พ.ศ.2490โดยในขณะนั้นมีการศึกษาวงจรการเกิดโรคไข้เหลือง จึงมีการค้นพบเชื้อไวรัสซิกาขึ้นมา โรคไข้ซิกาพบมีการติดต่อในคนตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ในประเทศอูกานด้า สาธารณรัฐทานซาเนีย และมีรายงานพบการระบาดของโรคไข้ซิกา ในพื้นที่ของทวีปแอฟริกา เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิกและอเมริกา ทั่วโลกมีแนวโน้มการระบาดของโรคจะแพร่กระจายไปยังประเทศใหม่ ๆ เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว นอกจากนั้นยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคยังมีกระจายอยู่ในหลายทวีปทั่วโลก

2. อาการของโรค
ระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา ใช้เวลาประมาณ 3 - 12 วัน อาการของโรคไข้ซิกา คล้ายกับ โรคที่เกิดจากอาร์โบไวรัส (Arbovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะน าโรค เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง และโรคไข้เลือดออก เป็นต้น โดยมีอาการไข้ มี ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะอาการเหล่านี้ปกติแล้วจะเป็นเพียงเล็กน้อย และอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 7 วันในช่วงที่เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง ในหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย และประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2556และ พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ได้รายงานภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดโรค ไข้ซิกาต่อระบบประสาทในระบบภูมิคุ้มกัน และปัจจุบันในประเทศบราซิล เจ้าหน้าที่ได้พบว่ามีการติดเชื้อโรค ไข้ซิกาเพิ่มขึ้นในประชาชนทั่วไป

3. วิธีการแพร่โรค
เชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อโดยยุงลายที่มีเชื้อ และไปกัดคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล Aedes aegyptiซึ่งมีอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรค ไข้ซิกา เป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ( Chikungunya) และไข้เหลือง

4. การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยไวรัสซิกาทางห้องปฏิบัติการ ท าได้โดยการตรวจสารพันธุกรรมด้วยวิธี Real-time PCR(polymerase chain reaction) และการแยกเชื้อไวรัสจากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย สำหรับการตรวจ แอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาค่อนข้างยาก เนื่องจากไวรัสซิกามีลักษณะที่คล้ายกับไวรัสที่ก่อโรคอื่น เช่น โรคไข้เลือดออกเวสไนล์ และไข้เหลือง โดยสามารถส่งตัวอย่างเพื่อตรวจสารพันธุกรรมได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายทางห้องปฏิบัติการ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันบำราศนราดูร

5. การรักษาโรค
ผู้ป่วยโรคไข้ซิกา ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง จึงสามารถรักษาตัวได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการปวด แนะน าให้รับประทานยาพาราเซตามอลห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตราย
สำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรปรึกษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์

6. การป้องกัน
การป้องกันตนเองไม่ให้โดนยุงกัด ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำได้โดย
- ใช้ยากำจัดแมลง หรือ ยาทาป้องกันยุง
- การสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้
- อาศัย และนอนในห้องปรับอากาศ ใช้ฉากกั้น การปิดประตู ปิดหน้าต่าง การใช้มุ้ง
- การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย การท าความสะอาด การเทน้ าทิ้ง หรือครอบฝาภาชนะที่สามารถบรรจุน้ำ เช่น กระถางต้นไม้ เพื่อไม่ให้มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
-ถ้ามีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ให้ปรึกษาแพทย์